ที่มา : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/about

วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ
Journal of Health, Physical Education and Recreation
โดย สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย
(Thai Association for Health, Physical Education and Recreation: TAHPER)

_____________________________________________________________________________________________________

ชื่อวารสาร (Journal Title)

ชื่อภาษาไทย วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ
ชื่อภาษาอังกฤษ Journal of Health, Physical Education and Recreation
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ JHPER
Abbreviation name J Health PhyEd Rec

กำหนดออกวารสาร (Publication Frequency)

วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ จะเผยแพร่บทความวิจัย จำนวน 3 ฉบับ ต่อปี และแต่ละฉบับจำนวนบทความไม่น้อยกว่า 15 เรื่อง (ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป) โดยมีกำหนดการเผยแพร่ดังนี้

ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน   (No. 1: January-April)

ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม -สิงหาคม   (No. 2: May- August)

ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม   (No. 3: September-December)

หมายเหตุ ประเภทของการ Peer-review จะเป็นแบบ Double blinded และมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai- Journal Citation Index Centre)

วัตถุประสงค์วารสาร

  1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการ ด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ ตลอดจนสหวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพ
  2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการตลอดจนสหวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพ ของคณาจารย์ และ นักวิชาการ สถาบันต่างๆ
  3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิต นักศึกษาสถาบันต่าง ๆ ได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ
  4. เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารวิชาการ

ประเภทเรื่องตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการทางสุขศึกษา พลศึกษา นันทนาการและสาขาที่เกี่ยวข้อง
  2. รายงานและบทความวิจัยทางสุขศึกษา พลศึกษา นันทนาการ และสาขาที่เกี่ยวข้อง
  3. บทความที่แปลจากวารสารและเอกสารทางสุขศึกษา พลศึกษา นันทนาการและสาขาที่เกี่ยวข้อง (ส่งมาพร้อมเอกสารเดิม)
  4. เรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆ

การเตรียมเรื่อง

  1. 1. ประเภทบทความวิชาการ
    • เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด (Micorsoft Word) บนกระดาษขนาด A4 ระยะขอบจะตั้งค่าขอบบน (Top) ขอบล่าง (Bottom) ขอบซ้าย (Left) และขอบขวา (Right) 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร เท่ากันทุกด้าน ตามรูปแบบต้นฉบับ (Template)วารสารฯ ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK
    • (ตามรูปแบบต้นฉบับ (Template) วารสารฯ ที่ให้ดาวน์โหลด) แบบเว้นช่อง 1 บรรทัด (single-spacing)
    • ชื่อผู้เขียนและคณะ พร้อมทั้งระบุสถาบันหรือสถานที่ทำงาน และ email ของเจ้าของบทความ (Corresponding author)
  2. 2. ประเภทรายงานหรือบทความวิจัย
    • ใช้รูปแบบเดียวกับประเภทบทความวิชาการ ดังกล่าวแล้ว ความยาว 10-11 (หรืออนุโลมให้ไม่เกิน 12) หน้า โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่องงานวิจัยและบทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ), บทนำหรือคำนำ (Introduction), วัตถุประสงค์ของงานวิจัย (Objective), วิธีการดำเนินงานวิจัย (Methodology), ผลการวิจัยหรือผลการทดลอง (Result), บทวิจารณ์หรืออภิปรายผลการวิจัย (Discussion), สรุปผลการวิจัย (Conclussion), ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (Suggestion), และเอกสารอ้างอิง (Reference) (เฉพาะที่มีอยู่ในเรื่อง และ การเขียนเอกสารอ้างอิง ให้ใช้แบบ APA )

Please publish modules in offcanvas position.